บทเรียนจากปม เก๋งแดงขวางทางรถฉุกเฉิน สะท้อนปัญหาเรื้อรังในสังคมไทย !!

จากกรณีผู้ใช้เฟชบุ๊ก Kenzaa Standby ได้โพสต์คลิปรถฉุกเฉินคันหนึ่งเปิดไซเรนขอทางขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่นำผู้ป่วยฉุกเฉินไปส่งโรงพยาบาล แต่ระหว่างทางในช่องเลนขวามีรถเก๋งซูซูกิสวิฟต์สีแดง ไม่ยอมหลบให้ทาง ซ้ำยังขับแช่อยู่เลนขวา และแม้วันนี้เจ้าของเก๋งในคลิปจะออกมาขอโทษแล้ว แต่วันนี้ผมจะขอหยิบยกประเด็นนี้มาพูด เนื่องจากว่า ถือเป็นอีกปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้นบ่อยมากกับการไม่หลีกทางให้รถฉุกเฉิน …ซึ่งหากยังจำกันได้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็เคยมีเหตุการณ์คล้ายกัน เกิดขึ้นที่จังหวัดปทุมธานี…

Home / NEWS / บทเรียนจากปม เก๋งแดงขวางทางรถฉุกเฉิน สะท้อนปัญหาเรื้อรังในสังคมไทย !!

จากกรณีผู้ใช้เฟชบุ๊ก Kenzaa Standby ได้โพสต์คลิปรถฉุกเฉินคันหนึ่งเปิดไซเรนขอทางขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่นำผู้ป่วยฉุกเฉินไปส่งโรงพยาบาล แต่ระหว่างทางในช่องเลนขวามีรถเก๋งซูซูกิสวิฟต์สีแดง ไม่ยอมหลบให้ทาง ซ้ำยังขับแช่อยู่เลนขวา

และแม้วันนี้เจ้าของเก๋งในคลิปจะออกมาขอโทษแล้ว แต่วันนี้ผมจะขอหยิบยกประเด็นนี้มาพูด เนื่องจากว่า ถือเป็นอีกปัญหาสังคมไทยที่เกิดขึ้นบ่อยมากกับการไม่หลีกทางให้รถฉุกเฉิน

…ซึ่งหากยังจำกันได้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ก็เคยมีเหตุการณ์คล้ายกัน เกิดขึ้นที่จังหวัดปทุมธานี คือ คนขับรถฉุกเฉินนำคนใกล้เสียชีวิตส่งโรงพยาบาล แต่ปรากฏว่ามีรถเก๋งขวางทางและคว้าขวานจะทำร้ายร่างกาย แต่เหตุการณ์ครั้งนั้นยังสามารถช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยและนำส่งโรงพยาบาลได้ทัน

และก็ยังมีหลายเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงในสังคม ดังนั้น ประเด็นที่ผู้ใช้รถใช้ถนนแล้วไม่หลบหลีกให้แก่รถฉุกเฉิน จึงเป็นประเด็นที่สังคมพูดถึงบ่อย ทำไมบางคนเลือกหลีกทางให้ และทำไมหลายคนจึงตั้งใจไม่หลบ และขวางทางรถฉุกเฉิน

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเทศกาลสงกรานต์แบบนี้เป็นช่วงที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนจำนวนมากกว่าปกติ รวมทั้งความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ในงานวิจัยของหน่วยงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนนก็ระบุว่ามีมากขึ้นถึง 3-4 เท่าทีเดียว

สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ รถฉุกเฉิน รถพยาบาล เตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ประชาชนที่ใช้รถใช้ถนน ก็ควรที่จะตื่นตัวกับการรับรู้ว่า เมื่อเจอรถฉุกเฉินเราควรทำอย่างไร… ก่อนจะไปรู้วิธีการปฏิบัติเมื่อเจอรถฉุกเฉินลองมาดูคำจำกัดความของคำว่า“รถฉุกเฉิน”กันก่อนครับ
โดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้คำจำกัดความว่า “รถฉุกเฉิน” คือ “รถดับเพลิงและรถพยาบาล ของหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง, ของหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค, ของหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น, หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ใช้ไฟ ใช้แสง หรือใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนด”

ส่วนในกรณีรถฉุกเฉินที่เป็นของเอกชน อย่างรถโรงพยาบาล หรือรถมูลนิธิต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณไซเรนนั้น กำหนดไว้ว่าจะต้องมีใบขออนุญาตรถฉุกเฉินทุกคันด้วย.